วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561

เปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด เทคโนโลยีใหม่เพื่อผู้ป่วย ที่โรงพยาบาล ม.อ. จ้า!

เปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด เทคโนโลยีใหม่เพื่อผู้ป่วย

เปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด เทคโนโลยีใหม่เพื่อผู้ป่วย เกี่ยวกับ โรคหัวใจ

Sanook! (Rewrite)
สนับสนุนเนื้อหา
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาล ม.อ. เปิดนวัตกรรมการรักษาโรคหัวใจแบบใหม่ เปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านทางสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด แห่งแรกในส่วนภูมิภาค คนไข้ฟื้นตัวเร็ว ไม่มีแผล ภาวะแทรกซ้อนน้อย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน
นพ.สิริชัย ชีวธนากรณ์กุล รองผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจนราธิวาสราชนครินทร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มของคนไข้เป็นโรคหัวใจมีมากขึ้น ประกอบกับประชาชนสนใจในสุขภาพ และมีความรู้เรื่องโรคหัวใจมากขึ้น ทำให้มีความต้องการตรวจสุขภาพ และรับการรักษามีมากขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้มีการสร้างศูนย์โรคหัวใจ เพื่อรองรับรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจแบบครบวงจรที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภาคใต้ ทำการรักษาทั้งการรักษาแบบมาตรฐานทั่วไป เป็นศูนย์ที่ดูแลรักษารับส่งต่อคนไข้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก และพยายามนำนวัตกรรม ความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ จากต่างประเทศมาใช้
 heart-3
เทคโนโลยีใหม่ เพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ
ปัจจุบัน ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น โดยมีการบุกเบิกการทำหัตถการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ aortic ผ่านทางสายสวนนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งนับได้ว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในส่วนภูมิภาคที่ได้นำวิธีการนี้มาใช้ โดยได้ศึกษาและพัฒนาทีมรักษาด้วยวิธีนี้มาเป็นเวลาประมาณ 2 ปี แต่เริ่มนำมาใช้รักษาคนไข้ตั้งแต่ วันที่ 6 กรกฎาคม 2560 มีคนไข้รับการรักษาไป 8 คน อายุตั้งแต่ 75-91 ปี มีผลการรักษาที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นคนทั่วไป การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศเป็นเวลา 7-8 ปีแล้ว ส่วนในเอเชีย และในประเทศไทยเพิ่งได้มีการนำมาใช้กันไม่นานมานี้ ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในกรุงเทพมหานคร
 heart-4
ไม่มีแผลผ่าตัดที่หน้าอกอีกต่อไป
เมื่อก่อนการรักษาลิ้นหัวใจต้องใช้วิธีการผ่าตัดเปิดหน้าอก ซึ่งผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานเป็นสัปดาห์ พัฒนาการของการรักษาพยาบาลโดยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน มีลักษณะการรักษาคล้ายกับการทำบอลลูน คือคนไข้ไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก เพียงใส่สายเข้าไปทางเส้นเลือดบริเวณแขน ขา หรือคอ แล้วใส่ลิ้นหัวใจเทียมผ่านทางหลอดเลือด ซึ่งข้อดีของการรักษาแบบนี้คือคนไข้ฟื้นตัวเร็ว ไม่มีแผลบริเวณหน้าอก ภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน ซึ่งผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้ คือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงเมื่อต้องรับการผ่าตัด ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะตอบโจทย์ในการรักษาผู้สูงอายุหรือผู้ที่ความเสี่ยงสูงอื่นๆ เช่น มีโรคประจำตัวบางชนิด
ในขณะนี้ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นที่แรก และที่เดียวในภาคใต้ ที่ให้การรักษาด้วยวิธีนี้ การรักษาโดยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนต้องมีการร่วมทำงานเป็นทีม ระหว่างอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด รังสีแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ทีมพยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งการสามารถร่วมรักษาเป็นทีมถือเป็นจุดเด่นของการรักษาของที่นี่ นอกจากต้องมีความพร้อมทั้งบุคลากรและอุปกรณ์แล้ว ยังต้องมีห้องผ่าตัดแบบ Hybrid ที่มีโปรแกรมสำหรับทำการหัตถการ TAVR (Transcatheter Aortic Valve Replacement) โดยเฉพาะ และสามารถรองรับการผ่าตัดในกรณีฉุกเฉินได้ซึ่งจะมีอยู่ไม่กี่แห่ง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันทราบว่าหลายโรงพยาบาลก็พยายามสร้างความพร้อมเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่นี้

heart-2
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่มีส่วนในการตัดสินใจของผู้ป่วยที่จะรับการรักษาด้วยวิธีนี้ ก็คือค่ารักษาที่ในปัจจุบันยังค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้วิธีผ่าตัด เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาที่เป็นลิ้นหัวใจเทียม ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ และเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังเบิกค่ารักษาพยาบาลไม่ได้ ซึ่งโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งจากมูลนิธิโรงพยาบาลเพื่อดำเนินการรักษาด้านนี้ แต่ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีนี้แพร่หลายมากขึ้น ราคาของลิ้นหัวใจเทียม และอุปกรณ์จะถูกลง และมีบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ด้านนี้เพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามหากท่านผู้มีจิตศรัทธาประสงค์ร่วมจะร่วมสนับสนุนเพื่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ สามารถร่วมบริจาคได้ที่มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น